วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเคมี

ข้อมูลโดยย่อของหลักสูตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564

รหัสและชื่อหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม

ชื่อย่อ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1
ก. วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก2

ก. หมวดวิชาบังคับ14 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก2 หน่วยกิต
ค. วิทยานิพนธ์20 หน่วยกิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program learning outcomes, PLOs)

เกณฑ์การรับเข้า

แผน ก 1
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวเคมีโดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ และมีเอกสารหลักฐานรับรอง หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ
  2. คุณสมบัติอื่น ๆ  ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
แผน ก 2
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ
  2. คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563

รายวิชาที่เปิดสอน

หมวดวิชาบังคับ

328-501

จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา

1 ((1)-0-2) Ethics in Sciences
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิทยาศาสตร์ การเป็นพี่เลี้ยง การเป็นผู้แต่งและผู้อ่านงาน การใช้สัตว์ทดลองในงานวิทยาศาสตร์ การทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่น การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

328-521

เทคนิคจำเป็นสำหรับงานวิจัยชีวเคมี

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Essential Techniques for Biochemical Research
รายวิชาบังคับเรียนควบกัน : 328-551 ปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยชีวเคมี
Concurrent: 328-551 Laboratory for Biochemical Research
ทฤษฎีสำหรับเทคนิคที่จำเป็นเพื่อใช้ในงานวิจัยทางชีวเคมี การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ การตกตะกอน เซนตริฟิวเกชัน โครมาโตกราฟี อิเล็กโตรฟอริซิส สเปคโตรโฟโตเมตรี ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส การแยกดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ การตรวจการแสดงออกของยีน กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อและความปลอดภัยทางชีวภาพ

328-541

ชุดวิชาพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีทางโปรตีน

คำอธิบายรายวิชา

9 ((4)-15-8) Module: Genetic Engineering and Protein Technologies
หลักการและวิธีการโคลนนิ่งและพันธุวิศวกรรม การทำแผนที่ดีเอ็นเอ การวิเคราะห์และหาลำดับนิว คลีโอไทด์ การส่งถ่ายดีเอ็นเอเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านและการคัดเลือก การผลิตโปรตีนลูกผสมและการทำบริสุทธิ์ คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของโปรตีน ความสัมพันธ์ทางโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน การม้วนพับของโปรตีน กลไกการทำงานและจลนศาสตร์ของเอนไซม์ การตรึงรูปเอนไซม์ การใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงคุณสมบัติของเอนไซม์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ลูกผสมในระดับห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรม

328-551

ปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยชีวเคมี

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-3-0) Laboratory for Biochemical Research
รายวิชาบังคับเรียนควบกัน : 328-521 เทคนิคจำเป็นสำหรับงานวิจัยชีวเคมี
Concurrent: 328-521 Essential Techniques for Biochemical Research
ปฏิบัติการสำหรับเทคนิคที่จำเป็นเพื่อใช้ในงานวิจัยทางชีวเคมี การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ การตกตะกอน เซนตริฟิวเกชัน โครมาโตกราฟี อิเล็กโตรฟอริซิส สเปคโตรโฟโตเมตรี ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส การสกัดดีเอ็นเอ การแยกดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ การตรวจการแสดงออกของยีน

328-671

สัมมนาทางชีวเคมี 1

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry I
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-671

สัมมนาทางชีวเคมี 1

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry I
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

หมวดวิชาเลือก

328-512

ชีวเคมีขั้นสูง

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Advanced Biochemistry
เมแทบอลิซึมขั้นสูงของลิโปโปรตีน และความเชื่อมโยงกับสุขภาพ การควบคุมระบบฮอร์โมน การควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมโดยภาพรวม การควบคุมวิถีไกลโคไลซิส และกรดซิตริก การควบคุมการสังเคราะห์และสลายไกลโคเจน โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเมแทบอลิซึม เมแทบอลิซึมของแอลกอฮอล์ ฮีม และพอไฟริน การควบคุมเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโน นิวคลีโอไทด์ การควบคุมระดับยีน และการควบคุมวัฏจักรของเซลล์

328-672

สัมมนาทางชีวเคมี 2 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry II
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-511

ชีวเคมีเชิงบูรณาการ

คำอธิบายรายวิชา

3 ((3)-0-6) Integrated Biochemistry
ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและหน้าที่ของสารมหโมเลกุลในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต การใช้และการเปลี่ยนแปลงพลังงานในกระบวนการเมแทบอลิซึม การบูรณาการเมแทบอลิซึม การควบคุมการทำงานของฮอร์โมน การถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมและการควบคุม

328-513

อณูชีววิทยาของเซลล์

คำอธิบายรายวิชา

3 ((3)-0-6) Molecular Biology of Cell ลักษณะสำคัญของเซลล์ชนิดต่าง ๆ โครงสร้างและหน้าที่ขององค์ประกอบภายในเซลล์ และออร์แกเนล วัฏจักรของเซลล์ การเจริญเติบโตและการพัฒนาของเซลล์ พลังงานระดับเซลล์และเมแทบอลิซึม ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในเซลล์ การสื่อสารระหว่างเซลล์ โครงสร้างและการทำงานของยีน การแสดงออกของยีนและการควบคุม การประยุกต์ใช้เทคนิคด้านอณูชีววิทยา

328-514

หลักโภชนาการ

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Principles of Nutrition ชีวเคมีของสารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ความสำคัญของสารอาหารแต่ละชนิดที่มีต่อการทำงานของร่างกาย หลักการทางโภชนาการ

328-531

ชีววิทยาโครงสร้าง

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Structural Biology โครงสร้างของโปรตีนโดยใช้เทคนิคทางฟิสิกส์ชีวภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลออนไลน์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน

328-532

ชีวเคมีของโปรตีนอะมิลอยด์

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Biochemistry of Amyloid Proteins กลไกการพับม้วนของโปรตีนภายในเซลล์ สมดุลของเครือข่ายโปรตีน ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกทางชีวเคมีและอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการพับม้วนของโปรตีน ความก้าวหน้างานวิจัยเกี่ยวกับความผิดปกติของการพับม้วนของโปรตีน

328-533

ชีววิทยาของมะเร็ง

คำอธิบายรายวิชา

3 ((3)-0-6) Biology of Cancer กลไกระดับเซลล์และโมเลกุลที่ก่อให้เกิดมะเร็ง บทบาทของอองโคยีนและยีนต้านมะเร็ง กระบวนการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ กระบวนการตาย การสร้างหลอดเลือดใหม่ การเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ องค์ประกอบและบทบาทของสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็ง นำเสนอและอภิปรายงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งที่มีคุณภาพ

328-534

ชีวเคมีของพืช

คำอธิบายรายวิชา

3 ((3)-0-6) Plant Biochemistry โครงสร้างและการทำงานของเซลล์พืช กระบวนการสังเคราะห์และแตกสลายของชีวโมเลกุลของพืช การสังเคราะห์แสง การตรึงไนโตรเจน ฮอร์โมนพืช รงควัตถุของพืชและเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ พันธุศาสตร์ของพืช การแสดงออกของยีนและการควบคุมการเจริญของพืช

328-535

ชีวเคมีทางทะเล

คำอธิบายรายวิชา

2 ((2)-0-4) Marine Biochemistry ชีวเคมีของสัตว์ทะเล เช่น ครัสตาเชียน วงจรชีวิตของครัสตาเชียน การเจริญพันธุ์ และกลไกการป้องกันตนเอง การตรวจวิเคราะห์และพัฒนาคุณภาพของครัสตาเชียนที่จับจากธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยงในฟาร์ม สารชีวโมเลกุลที่มีคุณค่าจากทะเล การแยกสกัดและการนำมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม

328-542

ชุดวิชาชีวสารสนเทศจำเป็นและโอมิกส์

คำอธิบายรายวิชา

5 ((4)-3-8) Module: Essential Bioinformatics and Omics ชีวสารสนเทศจำเป็น จีโนมิกส์ ทรานสคริปโตมิกส์ โปรติโอมิกส์ เมแทบอโลมิกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศด้านการแพทย์ครบวงจรและด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

328-673

สัมมนาทางชีวเคมี 3 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry III สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-674

สัมมนาทางชีวเคมี 4 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry IV
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-675

สัมมนาทางชีวเคมี 5 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry V
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-676

สัมมนาทางชีวเคมี 6 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VI
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-677

สัมมนาทางชีวเคมี 7 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VII
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-678

สัมมนาทางชีวเคมี 8 (Eng)

คำอธิบายรายวิชา

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VIII
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-681

หัวข้อพิเศษทางชีวเคมี

คำอธิบายรายวิชา

1 ((1)-0-2) Special Topics in Biochemistr หัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ในสาขาชีวเคมี

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

328-691

วิทยานิพนธ์

คำอธิบายรายวิชา

20 (0-60-0) Thesis พัฒนาหัวข้องานวิจัย ค้นคว้าข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม ทำวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้า จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา

328-692

วิทยานิพนธ์

คำอธิบายรายวิชา

36 (0-108-0)  Thesis
พัฒนาหัวข้องานวิจัย ค้นคว้าข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม ทำวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้า จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา

รายวิชาที่เปิดสอน

หมวดวิชาบังคับ

328-501 จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ 1 ((1)-0-2) Ethics in Sciences คำอธิบายรายวิชา
328-513 เทคนิคปฏิบัติการทางชีวเคมี 3 (2-3-4) Biochemical Laboratory Techniques
328-671 สัมมนาทางชีวเคมี 1 1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry I
328-672 สัมมนาทางชีวเคมี 2 1( 0-2-1) Seminar in Biochemsitry II

หมวดวิชาเลือก

328-507 เทคนิคอณูชีววิทยา 2 (2-0-4) Methods in Molecular Biology
328-510 ชีวเคมีแบบผสมผสาน 3 (3-0-6) Integrated Biochemistry
328-613 เทคโนโลยีของโปรตีนและเอนไซม์ 2 (2-0-4) Technology of Protein and Enzyme
328-673 สัมมนาทางชีวเคมี 3 1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry III
328-674 สัมมนาทางชีวเคมี 4 1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry IV

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

328-691 วิทยานิพนธ์ 24 (0-66-0) Thesis
328-692 วิทยานิพนธ์ 36 (0-108-0) Thesis

เกณฑ์การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร: นักศึกษาต้อง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

desk-computer-writing-hand-working-creative-764676-pxhere.com

ทุนการศึกษาสำหรับผู้ศึกษาในระดับปริญญาโทของหลักสูตร

desk-writing-work-hand-working-girl-723046-pxhere.com

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตร

เปิดรับสมัครตลอดทั้งปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร. เดชา เสริมวิทยวงศ์
อีเมลล์ : decha.s@psu.ac.th
โทรศัพท์ : 074-288271

ข้อมูลสำหรับดาวน์โหลด

Course syllabus ปีการศึกษา 2565
Course syllabus ปีการศึกษา 2563
Course syllabus ปีการศึกษา 2562
เล่มหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ฉบับเต็ม)
เล่มหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 (ฉบับเต็ม)
ปรัชญาการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์