รหัสและชื่อหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม

ชื่อย่อ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48-72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่จบปริญญาโท

แบบ 1.1   48   หน่วยกิต
ก. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 2.1   48    หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาบังคับ6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก6 หน่วยกิต
ค. วิทยานิพนธ์36 หน่วยกิต

แผนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรี

แบบ 1.2   72   หน่วยกิต
ก. วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

แบบ 2.2   72    หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาบังคับ18 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก6 หน่วยกิต
ค. วิทยานิพนธ์48 หน่วยกิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs)

เกณฑ์การรับเข้า

แบบ 1.1
  1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาชีวเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
แบบ 1.2
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก มีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาชีวเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

แบบ 2.1
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก

แบบ 2.2
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์ในโครงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีวเคมี ผู้เข้าศึกษาปริญญาเอกต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563

รายวิชาที่เปิดสอน

หมวดวิชาบังคับ

328-501

จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์

1 ((1)-0-2) Ethics in Sciences จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิทยาศาสตร์ การเป็นพี่เลี้ยง การเป็นผู้แต่งและผู้อ่านงาน การใช้สัตว์ทดลองในงานวิทยาศาสตร์ การทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่น การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

328-502

การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย

1 ((1)-0-2) Research Proposal Development การพัฒนาหัวข้อโครงการวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการ และการนำเสนอข้อเสนอโครงการต่อหน้าผู้ประเมิน

328-512

ชีวเคมีขั้นสูง

2 ((2)-0-4) Advanced Biochemistry เมแทบอลิซึมขั้นสูงของลิโปโปรตีน และความเชื่อมโยงกับสุขภาพ การควบคุมระบบฮอร์โมน การควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมโดยภาพรวม การควบคุมวิถีไกลโคไลซิส และกรดซิตริก การควบคุมการสังเคราะห์และสลายไกลโคเจน โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเมแทบอลิซึม เมแทบอลิซึมของแอลกอฮอล์ ฮีม และพอไฟริน การควบคุมเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโน นิวคลีโอไทด์ การควบคุมระดับยีน และการควบคุมวัฏจักรของเซลล์

328-521

เทคนิคจำเป็นสำหรับงานวิจัยชีวเคมี

2((2)-0-4) Essential Techniques for Biochemical Research รายวิชาบังคับเรียนควบกัน : 328-551 ปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยชีวเคมี Concurrent: 328-551 Laboratory for Biochemical Research ทฤษฎีสำหรับเทคนิคที่จำเป็นเพื่อใช้ในงานวิจัยทางชีวเคมี การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ การตกตะกอน เซนตริฟิวเกชัน โครมาโตกราฟี อิเล็กโตรฟอริซิส สเปคโตรโฟโตเมตรี ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส การแยกดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ การตรวจการแสดงออกของยีน กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อและความปลอดภัยทางชีวภาพ

328-541

ชุดวิชาพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีทางโปรตีน

9 ((4)-15-8) Module: Genetic Engineering and Protein Technologies หลักการและวิธีการโคลนนิ่งและพันธุวิศวกรรม การทำแผนที่ดีเอ็นเอ การวิเคราะห์และหาลำดับนิว คลีโอไทด์ การส่งถ่ายดีเอ็นเอเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านและการคัดเลือก การผลิตโปรตีนลูกผสมและการทำบริสุทธิ์ คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของโปรตีน ความสัมพันธ์ทางโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน การม้วนพับของโปรตีน กลไกการทำงานและจลนศาสตร์ของเอนไซม์ การตรึงรูปเอนไซม์ การใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงคุณสมบัติของเอนไซม์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ลูกผสมในระดับห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรม

328-551

ปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยชีวเคมี

1 (0-3-0) Laboratory for Biochemical Research รายวิชาบังคับเรียนควบกัน : 328-521 เทคนิคจำเป็นสำหรับงานวิจัยชีวเคมี Concurrent: 328-521 Essential Techniques for Biochemical Research ปฏิบัติการสำหรับเทคนิคที่จำเป็นเพื่อใช้ในงานวิจัยทางชีวเคมี การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ การตกตะกอน เซนตริฟิวเกชัน โครมาโตกราฟี อิเล็กโตรฟอริซิส สเปคโตรโฟโตเมตรี ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส การสกัดดีเอ็นเอ การแยกดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ การตรวจการแสดงออกของยีน

328-671

สัมมนาทางชีวเคมี 1

1(0-2-1) Seminar in Biochemistry I สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-672

สัมมนาทางชีวเคมี 2 (Eng)

1(0-2-1) Seminar in Biochemistry II สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

หมวดวิชาเลือก

328-511

ชีวเคมีเชิงบูรณาการ

3 ((3)-0-6) Integrated Biochemistry
ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและหน้าที่ของสารมหโมเลกุลในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต การใช้และการเปลี่ยนแปลงพลังงานในกระบวนการเมแทบอลิซึม การบูรณาการเมแทบอลิซึม การควบคุมการทำงานของฮอร์โมน การถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมและการควบคุม

328-513

อณูชีววิทยาของเซลล์

3 ((3)-0-6) Molecular Biology of Cell ลักษณะสำคัญของเซลล์ชนิดต่าง ๆ โครงสร้างและหน้าที่ขององค์ประกอบภายในเซลล์ และออร์แกเนล วัฏจักรของเซลล์ การเจริญเติบโตและการพัฒนาของเซลล์ พลังงานระดับเซลล์และเมแทบอลิซึม ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในเซลล์ การสื่อสารระหว่างเซลล์ โครงสร้างและการทำงานของยีน การแสดงออกของยีนและการควบคุม การประยุกต์ใช้เทคนิคด้านอณูชีววิทยา

328-536

การอักเสบระดับต่ำ

2((2)-0-4) Low-grade inflammation นิยามของการอักเสบระดับต่ำและความสัมพันธ์กับการอักเสบ การถ่วงดุลระหว่างไซโตไคน์ที่ทำให้เกิดการอักเสบ และไซโตไคน์ที่ต้านการอักเสบ วิถีที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไขมัน การตอบสนองต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อไขมันและโมเลกุลที่กระตุ้นการเกิดการอักเสบ การอักเสบของเนื้อเยื่อไขมันและโรคอ้วน บทบาทของอาหารต่อการอักเสบระดับต่ำ การอักเสบและเบาหวานประเภท 2 ไบโอมาร์กเกอร์สำหรับการอักเสบและสารธรรมชาติที่ต้านการอักเสบ

328-522

เทคนิคทันสมัยทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์

2((2)-0-4) Modern Techniques in Genetic Engineering เทคนิคทันสมัยทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์ การดัดแปลงพันธุกรรมและการยับยั้งการแสดงออกของยีนแบบถาวรในสัตว์ เทคโนโลยี siRNA การผลิตแอนติบอดี อิมมูโนฮีสโตเคมี การวิเคราะห์โครงสร้างของโปรตีน อันตรกิริยาระหว่างโปรตีน

328-531

ชีววิทยาโครงสร้าง

2 ((2)-0-4) Structural Biology โครงสร้างของโปรตีนโดยใช้เทคนิคทางฟิสิกส์ชีวภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลออนไลน์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน

328-532

ชีวเคมีของโปรตีนอะมิลอยด์

2 ((2)-0-4) Biochemistry of Amyloid Proteins กลไกการพับม้วนของโปรตีนภายในเซลล์ สมดุลของเครือข่ายโปรตีน ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกทางชีวเคมีและอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการพับม้วนของโปรตีน ความก้าวหน้างานวิจัยเกี่ยวกับความผิดปกติของการพับม้วนของโปรตีน

328-533

ชีววิทยาของมะเร็ง

3 ((3)-0-6) Biology of Cancer กลไกระดับเซลล์และโมเลกุลที่ก่อให้เกิดมะเร็ง บทบาทของอองโคยีนและยีนต้านมะเร็ง กระบวนการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ กระบวนการตาย การสร้างหลอดเลือดใหม่ การเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ องค์ประกอบและบทบาทของสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็ง นำเสนอและอภิปรายงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งที่มีคุณภาพ

328-534

ชีวเคมีของพืช

3 ((3)-0-6) Plant Biochemistry โครงสร้างและการทำงานของเซลล์พืช กระบวนการสังเคราะห์และแตกสลายของชีวโมเลกุลของพืช การสังเคราะห์แสง การตรึงไนโตรเจน ฮอร์โมนพืช รงควัตถุของพืชและเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ พันธุศาสตร์ของพืช การแสดงออกของยีนและการควบคุมการเจริญของพืช

328-535

ชีวเคมีทางทะเล

2 ((2)-0-4) Marine Biochemistry ชีวเคมีของสัตว์ทะเล เช่น ครัสตาเชียน วงจรชีวิตของครัสตาเชียน การเจริญพันธุ์ และกลไกการป้องกันตนเอง การตรวจวิเคราะห์และพัฒนาคุณภาพของครัสตาเชียนที่จับจากธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยงในฟาร์ม สารชีวโมเลกุลที่มีคุณค่าจากทะเล การแยกสกัดและการนำมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม

328-542

ชุดวิชาชีวสารสนเทศจำเป็นและโอมิกส์

5 ((4)-3-8) Module: Essential Bioinformatics and Omics ชีวสารสนเทศจำเป็น จีโนมิกส์ ทรานสคริปโตมิกส์ โปรติโอมิกส์ เมแทบอโลมิกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศด้านการแพทย์ครบวงจรและด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

328-552

การทดลองทางชีวเคมี

2 (0-6-0) Experiments in Biochemistry ทำวิจัยระยะสั้น เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในสาขาจำเพาะทางชีวเคมี

328-561

ปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยชีวโมเลกุล เซลล์และการแพทย์

1 (0-3-0) Laboratory for Biomolecular, Cellular and Medical Research ปฏิบัติการเทคนิคใหม่และขั้นสูงสำหรับงานวิจัยชีวโมเลกุล เซลล์และการแพทย์ การประยุกต์ ประโยชน์และข้อจำกัดของเทคนิคดังกล่าว

328-673

สัมมนาทางชีวเคมี 3 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry III สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-674

สัมมนาทางชีวเคมี 4 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry IV
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-675

สัมมนาทางชีวเคมี 5 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry V
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-676

สัมมนาทางชีวเคมี 6 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VI
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-677

สัมมนาทางชีวเคมี 7 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VII
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-678

สัมมนาทางชีวเคมี 8 (Eng)

1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry VIII
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ทางชีวเคมี โดยการนำเสนอและตอบข้อซักถาม

328-681

หัวข้อพิเศษทางชีวเคมี

1 ((1)-0-2) Special Topics in Biochemistr หัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยหรือค้นพบใหม่ในสาขาชีวเคมี

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

328-791

วิทยานิพนธ์

36 (0-108-0) Thesis พัฒนาหัวข้องานวิจัย ค้นคว้าข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม ทำวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้า จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา

328-792

วิทยานิพนธ์

48 (0-144-0) Thesis พัฒนาหัวข้องานวิจัย ค้นคว้าข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม ทำวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้า จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา

328-793

วิทยานิพนธ์

72 (0-216-0) Thesis พัฒนาหัวข้องานวิจัย ค้นคว้าข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม ทำวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานความก้าวหน้า จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์สำเร็จการศึกษา

รายวิชาที่เปิดสอน

328-505 ชีวเคมีขั้นสูง 1 2 (2-0-4) Advanced  Biochemistry  I
328-513 เทคนิคปฏิบัติการทางชีวเคมี 3 (2-3-4) Biochemical Laboratory Techniques
328-671 สัมมนาทางชีวเคมี 1 1 (0-2-1) Seminar in Biochemistry I
328-672 สัมมนาทางชีวเคมี 2 1( 0-2-1) Seminar in Biochemsitry II

328-507เทคนิคอณูชีววิทยา2 (2-0-4)Methods in Molecular Biology
328-510ชีวเคมีแบบผสมผสาน3 (3-0-6)Integrated Biochemistry
328-613เทคโนโลยีของโปรตีนและเอนไซม์2 (2-0-4)Technology of Protein and Enzyme
328-673สัมมนาทางชีวเคมี 31 (0-2-1)Seminar in Biochemistry III
328-674สัมมนาทางชีวเคมี 41 (0-2-1)Seminar in Biochemistry IV
328-675สัมมนาทางชีวเคมี 51 (0-2-1)Seminar in Biochemistry V
328-676สัมมนาทางชีวเคมี 61 (0-2-1)Seminar in Biochemistry VI
328-677สัมมนาทางชีวเคมี 71 (0-2-1)Seminar in Biochemistry VII
328-678สัมมนาทางชีวเคมี 81 (0-2-1)Seminar in Biochemistry VIII

328-791 วิทยานิพนธ์ 36 (0-108-0) Thesis
328-792 วิทยานิพนธ์ 48 (0-144-0) Thesis
328-793 วิทยานิพนธ์ 72 (0-216-0) Thesis

เกณฑ์การสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร: นักศึกษาต้อง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

desk-computer-writing-hand-working-creative-764676-pxhere.com

ทุนการศึกษาสำหรับผู้ศึกษาในระดับปริญญาโทของหลักสูตร

desk-writing-work-hand-working-girl-723046-pxhere.com

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตร

เปิดรับสมัครตลอดทั้งปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร. เดชา เสริมวิทยวงศ์
อีเมลล์ : decha.s@psu.ac.th
โทรศัพท์ : 074-288271

ข้อมูลสำหรับดาวน์โหลด